วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554
ริบบิ้นควาย
ริบบิ้นควาย เป็นเฟิร์นสายอีกชนิดที่พบเจอได้ไม่บ่อยนักในภาคใต้ตลอดไปจนถึงประเทศมาเลยเซีย ลักษณะที่เด่นชัดของเฟิร์นชนิดนี้และเป็นที่มาของชื่อ นั้นก็คือขนาดใบที่ใหญ่ยาวนั้นเอง ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าริบบิ้นแบบเส้นเล็ก บางครั้งเฟิร์นชนิดนี้จะอิงอาศัยอยู่ที่หัวชายผ้าสีดาปักษ์ใต้ที่ตายบนคาคบไม้ในที่สูง ในรูปภาพเป็นไม้ของทางจังหวัดตรัง พบที่เทือกเขาบันทัดบริเวณเหนือน้ำตกไพรสวรรณค์
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554
หางสิงสร้อย
ช้องนางคคลายนคร (เขาหลวง)
ช้องนางคลายนคร ไม้ตัวนี้ดูแล้วจะมีลักษณะคล้ายกับสร้อยนางกลาย แต่ไม้ตัวนี้จะมีความยาวไม่มากนััก เป็นไม้ที่พบที่เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช สวยไปอีกแบบครับ จัดเป็นไม้ที่เลี้ยงได้ค่อนข้างยากชอบอากาศชื้นแต่ถ้าเลี้ยงให้รอดแล้วจะสวยงามมาก เป็นไม้ที่เลี้ยงยากแบบเดียวกับช้องเมรีเลยที่เดียว
วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554
ช้องก้านขาวนคร
ช้องก้านขาวนครตัวนี้เป็นไม้สายที่ผมเองเพิ่งได้มาจากเขาหลวงครับ ข้อมูลยังไม่แน่ชัดมากนัก ลักษณะโดยรวม คือ ใบจะเรียงตัวลู่ไปข้างหน้าเป็นระเบียบ ก้านใบจะมีสีขาวเห็นได้ชัด จากรูปจะเห็นได้ว่าเฟิร์นตัวนี้จะมีขนาดไม่ัใหญ่มาก ดูแล้วจะมีลักษณะคล้ายๆช้องก้านขาวฟิลิปปินส์ครับ
ช้องแคระนคร
ช้องแคระนคร จัดเป็นเฟิร์นที่ถือว่าเล็กที่สุดในบรรดาเฟิร์นสายของภาคใต้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช ลักษณะที่เด่นชัดของเฟิร์นชนิดนี้คือ จะมีใบขนาดที่เล็ก ขนาดความยาวของก้านเฟิร์นจะยาวประมาณ 1 ฟุตหรืออาจจะสั้นกว่า ชึ่งเป็นที่มาของชื่อเฟิร์นชนิดนี้เพราะมีขนาดของก้านแต่ละเส้นที่สั้นนั้นเอง ช้องแคระนครถือเป็นเฟิร์นสายที่พบได้เฉพาะถิ่นเท่านั้น และมีแหล่งเดียวในภาคใต้เป็นเฟิร์นสายที่สวยงามและหายากอีกชนิด
ช้องบลูเขียว
ช้องบลูเขียวมีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย จัดเป็นเฟิร์นสายที่สวยงามและหายากอีกชนิดหนึ่งลักษณะของช้องบลูเขียวที่สังเกตุได้คือ สีของใบจะมีสีออกไปทางสีบลูใบใหญ่กว่าช้องปกติ ปลายสตอร์ปิรัสจะมีลักษณะคล้ายๆกับปลายสตอร์ปิรัสของช้องบลูแต่จะเล็กกว่า ช้องบลูเขียวมักจะขึ้นปะปนกับช้องก้านดำและด้วยลักษณะของช้องตัวนี้ที่ทำให้หลายๆท่านดูแล้วจะมีส่วนผสมของไม้สายสองชนิดคือ ช้องบลูและช้องก้านดำที่รวมอยู่ในไม้ตัวนี้ ซึ่งเป็นข้อบงชี้ถึงลักษณะเฉพาะของเฟิร์นชนิดนี้นี่เองครับ
ช้องบลูเขียว
ช้องบลูเขียวมีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย จัดเป็นเฟิร์นสายที่สวยงามและหายากอีกชนิดหนึ่งลักษณะของช้องบลูเขียวที่สังเกตุได้คือ สีของใบจะมีสีออกไปทางสีบลูใบใหญ่กว่าช้องปกติ ปลายสตอร์ปิรัสจะมีลักษณะคล้ายๆกับปลายสตอร์ปิรัสของช้องบลูแต่จะเล็กกว่า ช้องบลูเขียวมักจะขึ้นปะปนกับช้องก้านดำและด้วยลักษณะของช้องตัวนี้ที่ทำให้หลายๆท่านดูแล้วจะมีส่วนผสมของไม้สายสองชนิดคือ ช้องบลูและช้องก้านดำที่รวมอยู่ในไม้ตัวนี้ ซึ่งเป็นข้อบงชี้ถึงลักษณะเฉพาะของเฟิร์นชนิดนี้นี่เองครับ
เฟิร์นสายภาคใต้
สวัสดีครับทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคกรีนไลฟ์โปรเจ็ค วันนี้ผมเอาเรื่องของเฟิร์นสายที่กำเนิดในภาคใต้ลงไปถึงประเทศมาเลเซียมาให้ชมกันนะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)